เรื่อง การขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e – Service) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ ดังนี้
                   1. รายชื่องานบริการ Agenda จำนวน 12 งานบริการ และกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของส่วนราชการที่ได้รับมอบหมาย
                   2. มอบหมายให้ ก.พ.ร เป็นผู้พิจารณางานบริการ Agenda และงานบริการรายส่วนราชการเพิ่มเติม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                   โดยให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) และ ก.พ.ร. ยึดแนวทาง FVS ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เป็นหลักแทน Digital ID ในการพัฒนาระบบพิสูจน์ตัวตนฯ และให้ ก.พ.ร. เร่งกำหนดประเภทบริการที่ควรทำ Digitalize ในแต่ละช่วงเวลาเพื่อเป็นตัวชี้วัดให้หน่วยงานดำเนินการต่อไป (ภายใน 1 เดือน)
สาระสำคัญของเรื่อง
                   ก.พ.ร. รายงานว่า
                   1. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e – Service) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 31 มีนาคม 2563 และ 25 สิงหาคม โ2563 โดยให้ส่วนราชการพัฒนาระบบการให้บริการในรูปแบบ e – Service และกำหนดเป็นตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีส่วนราชการเสนองานบริการเพื่อนำมาพัฒนาเป็นการให้บริการในรูปแบบ e – Service จำนวน 78 หน่วยงาน รวม 80 งานบริการ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2564) ดังนี้

 ระบบการพัฒนา e – Service (งานบริการ)รวม
 L1*L2*L3*
1) พัฒนาระบบเสร็จแล้ว126422
2) ระบบเสร็จ และอยู่ระหว่างทดสอบการใช้งาน14115
3) อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ16111037
4) ยังไม่เริ่มพัฒนาระบบ516
รวม47191480
* L1 หมายถึง การให้บริการยื่นเรื่อง/ยื่นคำขอผ่านระบบ e – Service (สะดวดยื่น)
  L2 หมายถึง การให้บริการยื่นเรื่อง/ยื่นคำขอ และชำระเงินผ่านระบบ e-Service (สะดวกจ่าย)
  L3 หมายถึง การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จผ่านระบบ e-Service (สะดวกรับ)

ทั้งนี้ การดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เกิดปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนางานบริการเป็นรูปแบบ e-Service ที่สำคัญ คือ ส่วนราชการยังขาดองค์ความรู้ในการพัฒนา e-Service ทั้งในด้านวิชาการและด้านเทคนิค ขาดงบประมาณ กฎหมายยังไม่เอื้อต่อการพัฒนา e-Service และปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
                        2. อย่างไรก็ดี สถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ รวมทั้งการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้ประชาชนเปลี่ยนไปสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ดังนั้น หน่วยงานของรัฐซึ่งมีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนการให้บริการสาธารณะจำเป็นต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและงานบริการของรัฐให้ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการจากหน่วยงานของรัฐได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ต้องเดินทางไปติดต่อ ณ สำนักงาน โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสาธารณะตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ
                   3. ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ได้เห็นชอบแนวทางการดำเนินการเพื่อการขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบ e-Service ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                             3.1 การจัดกลุ่มงานบริการเป้าหมายเพื่อนำมาพัฒนาเป็นระบบการให้บริการประชาชนในรูปแบบ e-Service เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มงานบริการเป้าหมายแนวทางการพิจารณางานบริการ
1) งานบริการ Agenda หมายถึงงานบริการที่มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องหลายส่วนราชการแล้วมีผลกระทบให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้นหรือสนับสนุนช่วยเหลือให้ภาคเศรษฐกิจและสังคมที่ประสบปัญหาในภาวะสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและยั่งยืนงานบริการที่กำหนดไว้ในแผนต่าง ๆ ดังนี้
1.1) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
1.2) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565
1.3) แนวทางการยกระดับประเทศไทยสู่ 10 อันดับประเทศที่ประกอบธุรกิจได้ง่ายที่สุด (Ease of Doing Business)
2) งานบริการรายส่วนราชการ หมายถึง
งานบริการเฉพาะตามภารกิจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานใด รวมทั้งเป็นงานที่มีการให้บริการ/การทำธุรกรรมต่อปีจำนวนมาก
ใช้เวลาและขั้นตอนในการดำเนินการมากมาดำเนินการพัฒนาเป็นระบบบริการ e-Service
2.1) งานบริการที่เป็นระบบบริการ e-Service แล้ว แต่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มรูปแบบ (fully digital)
2.2) งานบริการภายใต้แผนระบบการให้บริการกลางภาครัฐเพื่อประชาชน (Citizen Portal) 3 ปี ที่ยังไม่มีระบบออนไลน์/งานที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มรูปแบบ (fully digital)
2.3) งานบริการเป้าหมายของระบบการให้บริการกลางภาครัฐเพื่อธุรกิจ (Biz Portal) ที่ต้องการขับเคลื่อนให้เป็น fully digital
2.4) งานจดแจ้งออนไลน์ * ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564
เฉพาะงานที่ยังไม่ได้ดำเนินการ

หมายเหตุ : * สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า งานจดแจ้งออนไลน์เป็นงานบริการรับแจ้ง เช่น จดแจ้งเพื่อให้ข้อมูลจดแจ้ง และเปลี่ยนแปลงข้อมูล (เช่น การเปลี่ยนประเภทเรือ การรับแจ้งเลิกกิจการ และการขอต่ออายุหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร กรณีนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา)
                             3.2 งานบริการ Agenda ที่กำหนดให้ส่วนราชการดำเนินการขับเคลื่อนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 12 งานบริการ และกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของส่วนราชการที่ได้รับมอบหมาย มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

รายชื่องานบริการหน่วยงานหลัก
1) ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) : เป็นระบบระบุตัวตนแทนการใช้บัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งช่วยลดภาระให้แก่ประชาชนในการจัดเตรียมเอกสาร โดยสามารถทำธุรกรรมออนไลน์กับภาครัฐได้กรมการปกครอง
2) ระบบการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง : เป็นระบบบริการในการยื่นชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ทุกที่ ทุกเวลาผ่านระบบออนไลน์กรมที่ดิน
3) ระบบการแจ้งเตือนสิทธิและช่วยเหลือในการรับสวัสดิการของประชาชนตลอดช่วงชีวิต : เป็นระบบบริการที่ช่วยให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับสิทธิที่พึงได้รับจากรัฐ รวมทั้งการได้รับการแจ้งเตือน และเป็นช่องทางในการขอรับสิทธิสวัสดิการต่าง ๆสำนักงาน
ปลัดกระทรวง
กระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์
4) ศูนย์การร้องเรียนแบบเบ็ดเสร็จ : เป็นระบบศูนย์กลางการรับเรื่องร้องเรียนแบบเบ็ดเสร็จที่ประชาชนสามารถยืนเรื่องร้องเรียน ติดตาม ตรวจสอบสถานะ และรับแจ้งผลการร้องเรียนได้ ณ จุดเดียวสำนักงาน
ปลัดสำนัก
นายกรัฐมนตรี
5) ระบบการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทาง (Ease of traveling) : เป็นแพลตฟอร์มบริการที่อำนวยความสะดวกผู้เดินทางเข้าออกประเทศไทยแบบครบวงจรครอบคลุมตั้งแต่การขอวีซ่า การขอหนังสือรับรองสถานภาพการเข้าประเทศไทย การให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และการช่วยเหลือและบริการอื่น ๆสำนักงาน
ปลัดกระทรวง
กระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬา
6) ระบบการออกบัตรสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ : เป็นระบบการขอและการรับออกเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนอิเล็กทรอนิกส์กรมควบคุมโรค
7) ระบบช่วยเหลือผู้ว่างงานให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน : เป็นระบบให้ความช่วยเหลือผู้ว่างงานให้ได้รับความสะดวกในการขอรับบริการและขอรับความช่วยเหลือผ่านระบบออนไลน์ช่องทางเดียว เช่น การขอรับสิทธิต่าง ๆ จากการว่างงาน และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือกรมการจัดหางาน
8) หนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ (One Identification: ID One SMEs) : เป็นระบบให้บริการแก่ผู้ประกอบการผ่านหมายเลข ID เพียงตัวเดียว ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสารหลายชุดซ้ำ ๆ กัน เพื่อใช้ในการติดต่อขอรับบริการ             ต่าง ๆสำนักงาน
ส่งเสริมวิสาหกิจ
ขนาดกลาง
และขนาดย่อม
9) ระบบขออนุญาตวัตถุอันตรายแบบครบวงจร (Hazardous Substance Single Submission: HSSS) : เป็นระบบรับคำขออนุญาตวัตถุอันตรายแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ณ จุดเดียว ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากและซ้ำซ้อนในการจัดเตรียมเอกสารในการขออนุญาตประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายกรมโรงงานอุตสาหกรรม
10) ระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (Good Agricultural Practices: GAP) พืช ประมง และปศุสัตว์ : เป็นระบบให้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร End-to-End Process อยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกันของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ตั้งแต่การยื่นคำขอจนได้รับการรับรอง GAPสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
11) ระบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการขอรับความช่วยเหลือด้านการเกษตร : เป็นแพลตฟอร์มในการขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรทุกประเภท
(พืช ปศุสัตว์ ประมง และยางพารา) และการขอรับความช่วยเหลือด้านการเกษตร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
12) ระบบเชื่อมโยงสินค้าข้ามแดนทางบกของกลุ่มประเทศ Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy (ACMECS) ผ่านระบบ National Single Window (NSW) : เป็นระบบช่วยให้ผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้ายื่นเรื่องขออนุมัติอนุญาตผ่านพิธีการศุลกากรทางระบบ NSW ที่สามารถลดขั้นตอน ลดเวลาในการตรวจสอบเอกสาร และลดต้นทุนการจัดทำเอกสาร ค่าบริการต่าง ๆ จากการติดต่อผ่านหลายหน่วยงานกรมศุลกากร

ทั้งนี้ งานบริการดังกล่าวต้องพิจารณาถึงการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ (Cyber Security) ควบคู่ไปด้วย
                   4. สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในส่วนของรายชื่องานบริการรายส่วนราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดรายชื่อ เนื่องจากอยู่ระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. ประสานและหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี ปัจจุบันส่วนราชการได้เสนอรายชื่องานบริการรายส่วนราชการมายังสำนักงาน ก.พ.ร. แล้วบางส่วน และจะเสนอต่อ ก.พ.ร. พิจารณา เพื่อกำหนดเป็นตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของส่วนราชการที่ได้รับมอบหมายต่อไป ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบ e – Service เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ก.พ.ร. ขอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ ก.พ.ร เป็นผู้พิจารณางานบริการ Agenda และงานบริการรายส่วนราชการเพิ่มเติม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44386