เรื่อง โครงการบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Services : GDCC)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอดังนี้
                   1. รับทราบผลการดำเนินงานการให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ1 (Government Data Center and Cloud Services : GDCC)
                   2. เห็นชอบให้ ดศ. จัดให้มีคลาวด์กลางภาครัฐและให้บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) เป็นผู้ดำเนินคลาวด์กลางภาครัฐ อันเนื่องมาจากการควบรวมกิจการและได้รับไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (บมจ. กสท โทรคมนาคม) ทั้งหมดตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
                   3. เห็นชอบกรอบงบประมาณรายจ่ายผูกพันต่อเนื่อง 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) โครงการบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (โครงการฯ) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,216.42 ล้านบาท
สาระสำคัญของเรื่อง
                   ดศ. รายงานว่า
                   1. ในปีงบประมาณ 2563 – 2565 ดศ. โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ได้ร่วมกับ NT (บมจ. กสท โทรคมนาคม ในขณะนั้น) ดำเนินโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
                             1.1 ตั้งแต่ปี 2563 ดศ. ได้ดำเนินการให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐแก่หน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (VM) จำนวน 8,000 VM และต่อมาได้เพิ่มขีดความสามารถของระบบคลาวด์กลางภาครัฐเพื่อรองรับความต้องการใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐและพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) ของหน่วยงานที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ การโอนย้ายข้อมูลและระบบงานจาก G-Cloud มายังคลาวด์   กลางภาครัฐเสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2564 โดยทรัพยากรหลักในการให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐของ ดศ. ที่ผ่านมาสรุปได้ ดังนี้

รายการปี 2563ปี 2564ปี 2565
(ความสามารถในการให้บริการของ ดศ. ในปัจจุบัน)
เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (VM)8,00012,000
(เพิ่มขึ้น 4,000)
12,000
(คงเดิม)
หน่วยประมวลผลกลางเสมือน (vCPU)32,00048,000
(เพิ่มขึ้น 16,000)
48,000
(คงเดิม)
หน่วยความจำหลัก หรือ RAM (GB)64,00096,000
(เพิ่มขึ้น 32,000)
96,000
(คงเดิม)
พื้นที่จัดเก็บข้อมูล (GB)960,0001,880,196
(เพิ่มขึ้น 920,196)
[ประกอบด้วย 1,440,000 (ตามจำนวน VM) + 440,196 (NT สนับสนุน)1]
3,000,000
(เพิ่มขึ้น 1,119,804)
[ประกอบด้วย 1,440,000 (ตามจำนวน VM) + 1,560,000 (จัดซื้อเพิ่มเติม)2]

หมายเหตุ : 1. ในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หน่วยงานภาครัฐมีความต้องการใช้ระบบคลาวด์กลางภาครัฐในส่วนของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเร่งด่วนจำนวนมาก NT จึงสนับสนุนพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 440,196 GB ในปีประมาณ 2564 สำหรับปีงบประมาณ 2565 (ผลการดำเนินงาน ณ เดือนธันวาคม 2564) ดศ. ได้จัดซื้อพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 1,560,000 GB โดยอยู่ในกรอบวงเงินที่ ดศ. ได้รับจัดสรรสำหรับปีงบประมาณ 2565
               2. ส่วนของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเทียบเคียงเป็น VM ที่ให้บริการได้เพิ่มขึ้น จำนวน 13,000 VM และช่วงเดือนมกราคม 2565 สดช. ได้รับจัดสรรงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อขยายทรัพยากรคลาวด์จำนวน 8,000 VM ทำให้มีทรัพยากรคลาวด์ทั้งสิ้น จำนวน 33,000 VM ซึ่งสามารถรองรับยอดที่ให้บริการ 31,568 VM ได้

โดย ดศ. รายงานเพิ่มเติมว่า หน่วยงานได้ใช้บริการคลาวด์กลางภาครัฐที่ได้รับจัดสรรในการดำเนินภารกิจต่าง ๆ   ใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการให้บริการด้านข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ (2) ด้านการให้บริการแอปพลิเคชัน แก่ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ และ (3) ด้านการจัดเก็บข้อมูลและระบบภายในของหน่วยงาน (Back Office) มีตัวอย่างการใช้งาน เช่น ระบบบริการการออกหนังสือสำคัญการส่งออกนำเข้าสินค้า (DFT SMART Licensing Systems : SMART-1) ของกรมการค้าต่างประเทศ ระบบสารสนเทศของศูนย์ไซเบอร์กองทัพอากาศ ระบบงานภายในกองบิน 5 กองบิน 46 ของกองทัพอากาศ ระบบรับร้องนิติกรณ์เอกสาร กรมการกงสุล เป็นต้น
                             1.2 ในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ดศ. ได้ดำเนินการ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐที่สำคัญ ดังนี้ (1) การพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐในลักษณะ Active – Active กล่าวคือ หากระบบคลาวด์ของสถานที่ (Site) ใดไม่สามารถทำงานได้ ระบบคลาวด์ของอีกสถานที่ (Site) จะทำงานทดแทนได้ทันที โดยมีการรับประกัน Service Level Agreement (SLA) ร้อยละ 99.99  มีระยะเวลาที่ระบบคลาวด์ทั้งหมดไม่สามารถใช้งานได้ (Total Failure) ไม่เกิน 4 นาที 23 วินาทีต่อเดือน (2) การจัดให้มีระบบเฝ้าระวังด้านความปลอดภัย ระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์และมีบุคลากรดูแลระบบและให้คำแนะนำตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน (3) การได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ISO/IEC 20000-1 และ CSA Star ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการใช้งานบนระบบคลาวด์และเป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ดศ. ยังได้ดำเนินการปรับปรุงแผนการดำเนินการและการให้บริการระบบคลาวด์ให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและให้สามารถรองรับความต้องการใช้งาน รวมถึงจัดทำหลักเกณฑ์การให้บริการคลาวด์กลางภาครัฐเพื่อจัดลำดับความสำคัญของการให้บริการและการเรียกคืนทรัพยากรจากระบบงานที่หน่วยงานไม่ใช้บริการแล้วเพื่อบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                             1.3 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ดศ. ได้จัดฝึกอบรมบุคลากรภาครัฐให้มีทักษะด้านการใช้งานระบบประมวลผลคลาวด์ (Cloud Computing) ผ่านหลักสูตร GOCC Training and Certification เพื่อให้หน่วยงานมีบุคลากรที่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์กลางภาครัฐได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้ารับการอบรมแล้วจำนวน  2,065 คน
                             1.4 ในช่วงเดือนสิงหาคม 2564 ดศ. ได้จัดส่งแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (1) ขั้นตอนการขอใช้บริการ (2) คุณภาพของบริการคลาวด์กลางภาครัฐ และ (3) การรับแจ้งปัญหา สอบถามข้อมูล โดยได้รับผลการประเมินจากหน่วยงานที่ตอบแบบสอบถาม 170 หน่วยงาน จากทั้งหมด 380 หน่วยงานอยู่ในระดับ พอใจมาก – มากที่สุด สำหรับทั้ง 3 ด้านของการบริการ
                   2. เนื่องจากยังมีคำขอใช้บริการคลาวด์กลางภาครัฐที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร ดศ. จึงมีความจำเป็นต้องขยายความสามารถในการให้บริการด้วยการดำเนินโครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายผูกพันต่อเนื่อง 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) เป็นวงเงินจำนวน 6,216.42 ล้านบาท  ตามที่ ดศ. เสนอในครั้งนี้ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อรายละเอียด
2.1 วัตถุประสงค์(1) เพื่อตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
(2) เพื่อให้มีระบบกลางในการให้บริการคลาวด์สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่มีมาตรฐานและปลอดภัย
(3) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเข้าถึงทรัพยากรคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง
(4) เพื่อรองรับการใช้งาน การวิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (Government Big Data Institute : GBDi)
(5) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเลือกใช้บริการได้ตรงตามความต้องการของแต่ละหน่วยงานมากขึ้นบน Government Cloud Marketplace3
(6) เพื่อประหยัดงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผล
2.2 เป้าหมายให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐแก่หน่วยงานภาครัฐโดยมีทรัพยากรที่สามารถรองรับความต้องการใช้ระบบของหน่วยงานภาครัฐได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทรัพยากร (หน่วย) จำนวนทรัพยากร
ที่มีอยู่ปัจจุบัน จำนวนทรัพยากรเป้าหมาย ณ ปี 2568 เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (VM) 12,000 อย่างน้อย 25,000
(เพิ่มขึ้น 13,000) หน่วยประมวลผลกลางเสมือน (vCPU) 48,000 อย่างน้อย 100,000
(เพิ่มขึ้น 52,000) หน่วยความจำหลัก (GB) 96,000 อย่างน้อย 200,000
(เพิ่มขึ้น 104,000) พื้นที่จัดเก็บข้อมูล (GB) 3,000,000
[1,440,000
(ตามจำนวน VM)
+ 1,560,000
(จัดซื้อเพิ่มเติม)] อย่างน้อย 6,000,000
(เพิ่มขึ้น 3,000,000)
[3,000,000
ตามจำนวน VM)
+ 3,000,000*
(จัดซื้อเพิ่มเติม)]  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พร้อมจัดเตรียมลิขสิทธิ์โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนจำนวนอย่างน้อย 2,000 VM และนำร่องการให้บริการ Government Cloud Marketplace
* ส่วนของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเทียบเคียงเป็น VM ที่ให้บริการได้เพิ่มขึ้น จำนวน 25,000 VM เมื่อรวมแล้ว จะมีทรัพยากรคลาวด์ทั้งสิ้น จำนวน 50,000 VM ซึ่งจะสามารถรองรับยอดที่ให้บริการอยู่เดิมและที่รอใช้บริการรวมทั้งสิ้น จำนวน 43,584 VM ได้
2.3 โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์กลางภาครัฐจะตั้งอยู่ในศูนย์ข้อมูล (Data Center) ของ NT ที่อาคาร CAT Tower บางรัก และศูนย์โทรคมนาคมนนทบุรี โดยเป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยและมั่นคงด้านระบบไฟฟ้า และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 27001 และมาตรฐาน CSA Star ทั้ง 2 แห่ง ทั้งนี้ เพื่อทำงานเป็นระบบสำรองระหว่างกัน ซึ่งเป็นการรับประกันการให้บริการอย่างต่อเนื่อง (uptime/availability) ขั้นต่ำ ร้อยละ 99.99

                             2.4 โครงการฯ จะใช้จ่ายจากแหล่งเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 – 2568 จำนวนเงินปีละ 2,072.14 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งสิ้น 6,216.4245 ล้านบาท โดยมีประมาณการรายจ่าย ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท

ลำดับรายละเอียดปี 66ปี 67ปี 68รวม
(1)ค่าเช่าใช้ระบบเพื่อให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ
(1.1) ค่าเช่าใช้บริการระบบคลาวด์ จำนวนไม่น้อยกว่า 25,000 VM1,284.001,284.001,284.003,852.00
(1.2) ค่าเช่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่ม จำนวน 3,000 TB192.60192.60192.60577.80
(2)ค่าบริการการบริหารจัดการ Log และ Managed Security Service จำนวนไม่น้อยกว่า 25,000 VM450.00450.00450.001,350.00
(3)ค่าบริการสิทธิของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล (Database license)76.5176.5176.51229.53
(4)ค่าบริการ Cloud Marketplace50.0050.0050.00150.00
(5)ค่าบริการระบบศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operation
Center: NOC) และ Call Center 24 ชั่วโมง 7 วัน
19.0319.0319.0357.09
 รวมทั้งสิ้น2,072.142,072.142,072.146,216.42

                             2.5 ประโยชน์ที่จะได้รับ
                                   ดศ. ได้ประเมินว่า การดำเนินโครงการฯ จะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศในส่วนของค่าเช่าคลาวด์ได้ 4,116.8585 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 76.22 และส่งเสริมระบบสารสนเทศของประเทศให้มั่นคงปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลและระบบงานของหน่วยงานภาครัฐอยู่ในระบบคลาวด์กลางภาครัฐที่มีมาตรฐานสากลด้านความมั่นคงปลอดภัยและตั้งอยู่ภายในประเทศ นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล รวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่              (Big Data) เพื่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
_____________________
1บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ คือ การให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและระบบงานแก่หน่วยงานภาครัฐที่ต้องการใช้บริการโดยหน่วยงานสามารถข้าถึงและจัดการข้อมูล/ระบบงานของตนได้ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการลดภาระงบประมาณของหน่วยงานที่อาจต้องใช้ลงทุนอุปกรณ์ ระบบ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (VM) เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานหลักสำหรับการให้บริการระบบคลาวด์ โดย 1 VM ตามมาตรฐานการของบประมาณของ ดศ. ประกอบด้วย (1) หน่วยประมวลผลกลาง หรือ vCPU จำนวน 4 vCPU (2) หน่วยความจำหลัก หรือ RAM จำนวน 8 Gigabyte (GB) และ (3) พื้นที่จัดเก็บข้อมูล หรือ Storage จำนวน 120 GB ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์เสมือนแต่ละองค์ประกอบสามารถปรับเพิ่ม – ลดจำนวนได้ตามความจำเป็น
3Government Cloud Marketplace คือ บริการออนไลน์ที่รวบรวมบริการคลาวด์ชนิดต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถค้นหาและเลือกซื้อบริการคลาวด์ในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากบริการคลาวด์แบบโครงสร้างพื้นฐานที่ ดศ. ให้บริการอยู่

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53057