เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam (Memorandum of Understanding between the Ministry of Digital Economy and Society of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Post and Telecommunications of the Kingdom of Cambodia on Cooperation for Suppressing Call Center Gang and Hybrid Scam) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม […]

Suchathit Boonnag

July 6, 2022

เรื่อง โครงการบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Services : GDCC)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอดังนี้                   1. รับทราบผลการดำเนินงานการให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ1 (Government Data Center and Cloud Services : GDCC)                   2. เห็นชอบให้ ดศ. จัดให้มีคลาวด์กลางภาครัฐและให้บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) เป็นผู้ดำเนินคลาวด์กลางภาครัฐ อันเนื่องมาจากการควบรวมกิจการและได้รับไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (บมจ. กสท โทรคมนาคม) ทั้งหมดตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535                   3. เห็นชอบกรอบงบประมาณรายจ่ายผูกพันต่อเนื่อง 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) โครงการบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (โครงการฯ) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,216.42 ล้านบาทสาระสำคัญของเรื่อง                   ดศ. รายงานว่า                   1. ในปีงบประมาณ 2563 […]

Suchathit Boonnag

March 30, 2022

ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. ….

  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา                    1. กำหนดให้ “บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล” หมายความว่า การให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในลักษณะที่เป็นสื่อกลางที่มีพื้นที่ให้ผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลและผู้บริโภคเชื่อมต่อกัน โดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์                     2. กำหนดให้ “ผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่กระทำการในเชิงพาณิชย์หรือวิชาชีพหรือนิติบุคคลที่เสนอสินค้า บริการ หรือทรัพย์สินต่อผู้บริโภคผ่านบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลโดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจ งานฝีมือ หรือวิชาชีพ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลหรือผู้บริโภคจะเป็นสมาชิก หรือมีบัญชีของแพลตฟอร์มนั้นหรือไม่ นอกจากนี้ บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลหนึ่งอาจมีผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมากกว่าหนึ่งฝ่ายก็ได้                    3. กำหนดให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบตามพระราชกฤษฎีกานี้                     4. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้และประกาศที่คณะกรรมการหรือสำนักงานกำหนด                   5. กำหนดให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นบริการที่ต้องแจ้งให้ สพธอ. ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ โดยยื่นแบบการแจ้งให้ทราบต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ยกเว้นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีหน่วยงานอื่นกำกับดูแลโดยเฉพาะอยู่แล้ว และบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นใดที่คณะกรรมการกำหนด ไม่ต้องแจ้งให้ สพธอ. ทราบ                    6. กำหนดให้พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับแก่การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภคในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลจะอยู่ในราชอาณาจักรหรือนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลอยู่นอกราชอาณาจักรต้องแต่งตั้งตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจเป็นหนังสือซึ่งตัวแทนต้องอยู่ในราชอาณาจักรและตัวแทนต้องได้รับมอบอำนาจให้กระทำการแทนผู้ประกอบธุรกิจโดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิดใด ๆ ที่เกี่ยวกับการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลตามพระราชกฤษฎีกานี้                      7. […]

Suchathit Boonnag

October 26, 2021

ข้อเสนอหลักการในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้                   1. เห็นชอบในหลักการการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เสนอ                                      2. มอบหมายให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันจัดทำร่างกฎหมายตามหลักการตามข้อ 1 โดยให้รับความเห็นของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนากฎหมายตรวจพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วนต่อไป                   สำนักงาน ป.ย.ป. เสนอว่า                   1. โดยที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน     พ.ศ. 2563 กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาให้ความเห็น คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายหรือกฎที่มีผลใช้บังคับอยู่ หรือการเสนอกฎหมายหรือกฎใหม่ เพื่อให้การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติในระยะเร่งด่วนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ในการนี้ คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อสนับสนุนสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลโดยมีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณาจัดทำความเห็นหรือข้อเสนอแนะด้านการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล                   2. คณะอุนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อสนับสนุนสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลได้ดำเนินการศึกษาสภาวะแวดล้อมด้านกฎหมายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยเห็นว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นกฎหมายที่วางหลักพื้นฐานในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว แต่ยังไม่สามารถสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีได้อย่างแท้จริง จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนพิจารณาจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าว และได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาประกอบการพิจารณา รวมทั้งศึกษาแนวโน้มของพัฒนาการด้านกฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้กับระบบกฎหมายไทย                   […]

Suchathit Boonnag

October 6, 2021

ปวดใจกับเว็บ 1111.go.th

เรื่องมีอยู่ว่าได้รับสายแอบอ้างว่ารัฐบาลไทยมีวงเงินปล่อยกู้ ซึ่งฟังยังไงก็รู้ว่าเป็นเรื่องหลอกลวงแน่ ๆ จึงเข้าไปแจ้งใน 1111.go.th (แจ้งไว้ก่อน ผมอยากให้ท่าน ๆ ที่ดูแลเว็บแห่งนี้ปรับปรุง เพราะผมพบเจอเรื่องนี้ก็นึกถึง 1111 ทันทีเลย) ความพีคอย่างแรกที่เจอคือ ไม่มี HTTPS แล้วเป็นระบบที่ให้กรอกเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั้งนั้น ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์ และก็รหัสผ่าน (นี้ให้โปรแกรมช่วย gen ให้เลย) อย่างที่สองที่เจอคือปีของ Copyright ยังเป็น 2015 อยู่ แถมคำว่า “thai government” ไม่ได้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ในอักษรตัวแรก ผมนี้เศร้าใจเลยว่าผ่านมาเป็นหลาย ๆ ปีไม่มีใครเห็นบ้างหรือ อย่างที่สามตอนสมัคร แล้วจะมีการยืนยันอีเมล แต่อีเมลที่ส่งมาเป็นอีเมล Gmail ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาล ก็ให้หน่วยงานไปใช้ mail.go.th? เรื่องสุดท้าย ในตอนให้เลือกอำเภอนี้ ใช้ชื่อ “เมือง” เฉย ๆ เลยทั้ง ๆ ที่ต้องเป็น เมืองปทุมธานี […]

Suchathit Boonnag

September 19, 2021

รายงานผลการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และเห็นชอบมาตรการเร่งรัดให้หน่วยงานสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในการใช้บริการรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย                   สาระสำคัญ                   สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 8 กันยายน 2563 โดยมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว โดยแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบทั้ง 84 ฉบับ ให้รายงานสถานะความก้าวหน้า (ณ เดือนมิถุนายน 2564) เพื่อติดตามและเร่งรัดการดำเนินงาน โดยมีผลสรุปได้ ดังนี้                   1. กฎหมายและกฎระเบียบที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 23 ฉบับ สามารถดำเนินการแก้ไขได้แล้วเสร็จ หรือทบทวนแล้วเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคสามารถใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบฉบับอื่นรองรับได้ รวมจำนวน 19 ฉบับ และที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 4 ฉบับ นอกจากนี้ […]

Suchathit Boonnag

August 31, 2021

เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 – 2565)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 – 2565) (แผนปฏิบัติการฯ) และมอบหมายให้ พณ. เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้ พณ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป                   สาระสำคัญของเรื่อง                   พณ. รายงานว่า                   1. ปัจจุบันการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่ทวีความสำคัญมากขึ้น อันเป็นผลจากการพัฒนาของเทคโนโลยีและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้เทคโนโลยีทั่วโลก จึงสมควรที่ประเทศไทยจะมีแผนการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่    6 กันยายน 2560 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จึงได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างแผนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (ปี พ.ศ. 2560 – 2564) เพื่อคณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (แต่งตั้งตามคำสั่งของ พณ.) จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีและจัดทำร่างแผนปฏิบัติการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติต่อไป                   2. คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 – 2565) และแผนงานกิจกรรม/โครงการสำคัญ (Flagship) ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ โดยมีกรอบแนวคิดจากการศึกษายุทธศาสตร์ชาติ […]

Suchathit Boonnag

August 31, 2021

เรื่อง การพัฒนาระบบนิเวศทางกฎหมายเพื่อเร่งรัดให้เกิด Digital government

                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ เรื่อง การพัฒนาระบบนิเวศทางกฎหมายเพื่อเร่งรัดให้เกิด Digital government ซึ่งเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเป็นประโยชน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019                   สคก. เสนอว่า โดยที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ให้ สคก. พัฒนาระบบนิเวศทางกฎหมาย (Legal Ecosystem) เพื่อเร่งรัดให้เกิด Digital government ซึ่ง สคก. ได้ดำเนินการแล้ว โดยสรุปได้ดังนี้                   1. จัดทำร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การยื่นคำขอหรือติดต่อใด ๆ ระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ การติดต่อราชการระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันและระหว่างเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานของรัฐ สามารถทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร                    2. จัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 (ระเบียบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์) และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 แล้ว […]

Suchathit Boonnag

August 18, 2021

รมต. ดศ. พูดถึง Digital ID

แนวทางการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID ด้วยการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล (Face Verification Service – FVS)

Suchathit Boonnag

August 16, 2021

เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2563 ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2563 ของ ส.ส.ท. ดังนี้สาระสำคัญของเรื่อง                   ส.ส.ท. ได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2563 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้                   1. ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์การ ประจำปี 2563 ส.ส.ท. ได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินการต่าง ๆ ผ่าน 4 กิจการหลัก ดังนี้                             1.1 กิจการวิทยุโทรทัศน์ โดยส่งสัญญาณในระบบดิจิทัลภาคพื้นดินผ่านทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3 จำนวน 21 ชั่วโมงต่อวัน มีสัดส่วนข่าวสารกว่าร้อยละ 50 และสารประโยชน์ทางด้านการศึกษาและสาระบันเทิงรวมกว่าร้อยละ 40 รวมทั้งปรับเพิ่มการปฏิบัติงานด้านเนื้อหาที่สร้างความแตกต่างและโดดเด่นมากขึ้นในรูปการบริหารแบบศูนย์สร้างสรรค์เนื้อหาพิเศษ                             1.2 บริการส่งเสริมการเรียนรู้ โดยทดลองออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Active Learning TV (ALTV) หมายเลข 4 จำนวน 15 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งช่วยเพิ่มสัดส่วนเนื้อหาสำหรับเด็กและครอบครัวจาก 255 นาที/สัปดาห์ เป็น 5,602 นาที/สัปดาห์ ส่งผลให้ยอดรวมรายการเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ […]

Suchathit Boonnag

August 14, 2021
1 2